ฝ่ายผลิต
หน้าที่ของฝ่ายผลิตคือ
การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบสถานที่ผลิต เช่น โรงงาน
สถานที่ โดยการผลิตนั้นจะแบ่งเป็นขั้นตอน เช่น การจัดลำดับงาน ระดับสินค้าคงคลัง รวมถึงการควบคุมคุณภาพของสินค้าที่ทำโดยการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด หรือสุ่มตัวอย่าง
ปัญหาของฝ่ายผลิต
1. มีของเสียในกระบวนการผลิตมาก
2. แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
3. มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
4. มีปริมาณของในกระบวนการผลิตสูงขึ้น
5. มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบ
การเสนอแนวทางเลือก
ในการนำระบบพัฒนาระบบการผลิตมาใช้งาน
เราพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือ
งานไม่สามารถดำเนินไปตามแผนที่กำหนด
ไม่ทราบความคืบหน้าของงาน แล้วยังตรวจสอบได้อีกด้วยว่ามาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
จึงอาจเกิดความล้าช้าของงานที่ได้รับมอบหมายมากขึ้น เพื่อลดปัญหาต่างๆลง
ได้มีการเสนอโครงการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นทางทีมงานได้รวมรวบข้อมูลจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผู้บริหารจากนั้นจึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ
โดยมีแนวทางเลือกในการพัฒนาโครงการ 2 แนวทางคือ
1.จัดซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป
2.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน
ทางเลือกที่ 1 : ซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป
มีรายละเอียดดังตาราง
การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบที่เหมาะสม
โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
ซึ่งผลจากการประเมิน
โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกซื้อ
Software A มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน
แนวทางเลือกที่ 2 ว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบ มีรายละเอียดดังตาราง
การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบที่เหมาะสม
โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90
เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70
เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50
เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30
เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
ซึ่งผลจากการประเมิน โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน
ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 2
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและว่าจ้างบริษัท
A มาติดตั้งระบบ เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
ข้อเสนอแนะแนวทางเลือกทั้ง 2 แนวทาง
แนวทางเลือกที่ 1 การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จระบบ A
ข้อดี
ระบบมีความสามารถพัฒนาระบบได้ตรงตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของบริษัทที่ได้จัดทำไว้ราคามาต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบไม่สูงมากนัก
ข้อเสีย
ระบบไม่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการแต่ก็ไม่กระทบองค์กรใช้ระยะเวลาในการติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานนาน
แนวทางเลือกที่ 2 การจ้างบริษัท A เพื่อพัฒนาระบบ
ข้อดี
ระบบมีความสามารถพัฒนาระบบได้ตรงตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของบริษัทที่ระบบยังมีความยืดหยุ่นในปรับแต่งได้ตามความต้องการโดยไม่กระทบองค์กรสามารถพัฒนาไปยังอนาคตข้างหน้าได้ใช้ระยะเวลาติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานน้อย
ข้อเสีย
ราค่าต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบค่อนข้างสูง
ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสามแนวทางจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของผู้บริหารเพื่อพิจารณาเลือกแนวทางตามที่ได้นำเสนอจากทีมงานพัฒนาพร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสอง
โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
หลังจากหัวหน้าทีมงานได้เสนอแนวทางเลือก โดยจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะแก่ทีมผู้บริหาร
โดยใช้กฎเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) ดังตารางต่อไปนี้
สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและมีความคุ้มค่าในการลงทุน
ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป้าหมาย
นำระบบการผลิตมาใช้งานในบริษัทเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเสมือนลูกค้าเป็นพี่น้องของเราและใช้เป็นระบบที่ใช้ในการขายสินค้า
วัตถุประสงค์
เพื่อนำระบบใหม่มาแก้ไขปัญหาต่างๆให้มากที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
และความทันสมัยของระบบเพื่อนทันต่อการใช้งานรวมไปถึงตรวจสอบสินค้าให้ได้มาตรฐาน
ถูกต้อง ว่องไวตรงตามความต้องการ และพัฒนาให้เป็นระบบงานผลิตที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ
ขอบเขตของระบบ
โครงการพัฒนาระบบการผลิตได้มีการจัดทำขึ้นโดย
ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบมารับผิดชอบโครงการ
พร้อมกันนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
· ระบบสามารถตรวจสอบการซื้อขายสินค้าได้
· ระบบจะต้องรองรับการทำงานแบบ Multi-User ได้
· ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
· ระบบจะต้องแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน แต่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้
· ระบบจะต้องเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดต่อการทำงาน
· ระบบจะต้องมีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
· ระบบสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
· ข้อมูลมีความแตกต่าง
เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลง
· เป้าหมายของบริษัทไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
· การเก็บรวบรวมข้อมูลการผลิต และการค้นหาข้อมูลของสินค้าเกิดความซ้ำซ้อน
· ข้อมูลที่ได้ไม่มีความชัดเจนและแน่นอน
· เนื่องจากเป็นระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอยู่ตลอดเวลาทำให้ข้อมูลเกิดความเสียหายและสูญหายได้
· ยากต่อการหาข้อมูล
· การทำงานของพนักงานแต่ละฝ่ายไม่มีความแน่นอน
ความต้องการในระบบใหม่
· ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน
· สามารถเก็บ
และตรวจสอบข้อมูลการผลิตสินค้าได้
· สามารถเพิ่ม แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของการผลิตและข้อมูลสินค้าได้
· สามารตรวจเช็คสินค้าที่ลูกค้าต้องการจองได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
· ลดความซ้ำซ้อนกันของการทำงาน
· ลดระยะเวลาในการทำงาน
· ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำและไม่ซ้ำซ้อน
· การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
· สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
แนวทางในการพัฒนา
การพัฒนาระบบ
เป็นการพัฒนาระบบในส่วนของการผลิตและในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น ผลิตสินค้า
การตรวจสอบการผลิตสินค้า ซึ่งบางครั้งการทำงานขั้นตอนต่าง ๆ
อาจจะมีเอกสารหรือข้อมูลที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน
ดังนั้นจึงได้มีการวิเคราะห์ระบบใหม่เพื่อความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการทำงาน เมื่อพิจารณาถึงขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับบริษัทแล้วสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 7 ขั้นตอน
1. การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
2. การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
3. การวิเคราะห์ระบบ
4. การออกแบบเชิงตรรกะ
5. การออกแบบเชิงกายภาพ
6. การพัฒนาและติดตั้งระบบ
7. การซ่อมบำรุงระบบ
ขั้นตอนที่ 1 การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project
Identification and Selection )
เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร
ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบคือบริษัทสวีทตี้
ข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
· การผลิตสินค้า
· การตรวจสอบการผลิตสินค้าที่ลูกค้าต้องการสั่ง
· การจัดเก็บข้อมูลของสินค้าและข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า
ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน
ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
· เริ่มต้นทำโครงการ
ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
· กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
· วางแผนการทำงานของระบบใหม่
ขั้นตอนที่ 3
การวิเคราะห์
1.ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม ดูว่าการทำงานของบริษัท
มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิม และระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบการสั่งจองสินค้า
2.การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ ศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
3.จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้ เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว ก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้ ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ 4
การออกแบบเชิงตรรกะ
เป็นการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน
ซึ่งในการออกแบบระบบระบบงานที่ได้ในแต่ละงานจะไม่เหมือนกันซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ระบบงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนที่ 5
การออกแบบเชิงกายภาพ
ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง
ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล
โปรแกรมสำเร็จรูป
เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น
และมีความรวดเร็ว
ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป
ขั้นตอนที่ 6
การพัฒนาและติดตั้งระบบ
ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม
เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่ อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้
หรือจัดทำโปรแกรมขึ้นมาเอง แต่อาจจะมีความยุ่งยากไปหน่อย
หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
1. เขียนโปรแกรม
2. ทดสอบโปรแกรม
3. ติดตั้งระบบ
4. จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่
7 การซ่อมบำรุงระบบ
อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ
เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้ว
เราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด
แผนการดำเนินงานของโครงการ
แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ระบบการผลิตสินค้า และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
- ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
- ประมาณการใช้ทรัพยากรในการผลิต
- ประมาณการใช้งบประมาณ
- ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน
1. ทีมงานรับผิดชอบโครงการ
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่จะได้รับมอบหมาย คือ บุคลากรแผนกคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 คน
จะดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังต่อไปนี้
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้กับทีมโปรแกรมเมอร์
จัดทำเอกสารของระบบ ทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- โปรแกรมเมอร์
ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบ
รวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและผลการตอบรับจากผู้ใช้ระบบ
2. ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
ปัจจุบันทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วมีรายละเอียดต่อไปนี้
1.เครื่องแม่ข่าย server
จำนวน 1 เครื่อง
2.เครื่องลูกข่าย (Workstation)
จำนวน20 เครื่อง
3.เครื่องพิมพ์ (Printer)
6เครื่อง
4. อุปกรณ์ต่อพวง 7 ชุด (ตามความเหมาะสม)
สรุปแล้วงบประมาณที่ใช้พอสรุปในของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้
1.ผู้จัดการ
ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์ 100,000 บาท
2.พนักงาน
ฝึกอบรมพนักงานและผู้บริหาร 10
คน 2,000 บาท
วันฝึกอบรมผู้ดูแลระบบ 1,000 บาท
3.จัดชื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์:
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็น workstation 70,500 บาท
อื่นๆ 15,000 บาท
4.ค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินงาน
ค่าบำรุงระบบ 65,000 บาท
จัดชื่อเก็บข้อมูลสำรอง 2,500 บาท
รวม 256,000 บาท
ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการระบบการขาย
จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นระยะเวลาในการดำเนินงานของการพัฒนาระบบการผลิตของบริษัท
ระยะเวลาดำเนินงาน
· จำนวนชั่วโมงจริงในการทำงานในแต่ละวัน
หรือส่วนหนึ่งของการประมาณระยะเวลาที่กำหนดไว้ นั่นคือ 8 ชั่วโมงต่อวัน
ไม่รวมช่วงพักเที่ยง
· เฉพาะวันทำการ คือวันจันทร์-ศุกร์
ไม่นับวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันเสาร์-อาทิตย์
รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร
จากการที่ได้ศึกษาโครงการส่งเสริมการขายปัญหาที่พบในระบบ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบริษัท
ลูกค้า และอาจจะส่งผลต่อการผลิต เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
ในด้านการบริการ และทางระบบสารสนเทศ ทางบริษัทจึงต้องจัดทำแผนพัฒนาระบบใหม่ขึ้น
เพื่อที่จะนำไปพัฒนา
ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ
(System Requirements Determination)
การกำหนดความต้องการของระบบ
เมื่อระบบการผลิตได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา
และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นมาบ้างแล้ว ในขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ
จึงเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งรวมทั้งรายละเอียดในการทำงานในปัจจุบันและความต้องการในระบบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม
ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถาม(Questionnaire) สำหรับวิธีการออกแบบสอบถาม
ทีมงามสามารถกำหนดคำถามที่ต้องการได้ตรงประเด็นเหมาะกับผู้จัดการแผนกที่มีเวลาให้สัมภาษณ์น้อยและผู้ตอบแบบสอบถามมีอิสระในการให้คำตอบ
ซึ่งบุคคลที่ทางทีมงานเลือกที่จะออกแบบสอบถามมีดังนี้
ออกแบบสอบถาม (Questionnaire)
บุคคลที่ตอบแบบสอบถาม
คือ ผู้จัดการแผนกต่าง ๆ
การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา
เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ ไม่ต้องมีการจดบันทึก ดังเช่น
วิธีการสัมภาษณ์
ซึ่งจะทำให้เสียเวลามาก
ไม่รวบกวนเวลาของผู้จัดการมากนัก
สามารถเก็บข้อมูลได้มาก
ตามการตั้งคำถามในแบบสอบถามอีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูลดังตัวอย่าง
จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบเดิม
ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม สามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม
2. ความต้องการในระบบใหม่
3. ตัวอย่างเอกสาร แบบฟอร์ม
และรายงายของระบบเดิม
ความต้องการของผู้ใช้กับระบบงานใหม่
จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติม
จึงได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการดังนี้
1. เก็บข้อมูลสินค้าที่ผลิต
2. เก็บข้อมูลวัสดุที่ใช้ในการผลิต
3. เก็บข้อมูลการสั่งซื้อวัสดุที่ใช้ในการผลิต
4. รายงานข้อมูลสินค้า
5. ช่วยวางแผนการผลิต
6. ช่วยเลือกบริษัทที่จะสั่งซื้อวัสดุในการผลิต
ขั้นตอนที่ 4
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ (Process Modeling)
จำลองขั้นตอนการทำ งานของระบบ
(System Requirement Structuring)
หลังจากโครงการพัฒนาระบบงานฝ่ายบัญชี
ได้รับการอนุมัติแล้ว
ทีมงานพัฒนาระบบจึงได้วิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบโดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล
ดังนี้
อธิบาย Context
Diagram
ลูกค้า
-
ลูกค้าสามารถสมัครสมาชิก
-
จัดเก็บข้อมูลลูกค้าจากการสมัคร
-
ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้า
-
ลูกค้าส่งรายการสั่งซื้อสินค้าให้พนักงาน
-
ลูกค้าสามารถโอนเงินผ่านธนาคาร
-
ลูกค้าส่งใบ Fax Payment เข้ามายังบริษัท
พนักงาน
-
ออกใบเสร็จรายการสั่งซื้อสินค้า
-
สำเนาใบเสร็จรายการสั่งซื้อสินค้า
-
รับใบ Fax Payment จากลูกค้า
-
ตรวจสอบใบ Payment
-
พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน
-
ส่งสำเนาใบเสร็จรายการสั่งซื้อสินค้าไปยังคลังสินค้า
คลังสินค้า
-
จัดของตามสำเนารายการสั่งซื้อสินค้า
-
เรียกดูข้อมูลลูกค้า
-
ออกใบส่งสินค้า
-
จัดส่งสินค้าให้ลูกค้า
DFD
LEVEL 1
อธิบาย DFD Level 1
1.ฝ่ายการตลาดและการขาย
-
เรียกดูรายงานข้อมูลสินค้าที่ผลิต
2.ฝ่ายการผลิต
- ต้องการทราบว่าให้ผลิตสินค้าชนิดใดเพิ่ม
- ต้องการทราบยอดสินค้าที่ผลิต
- แจ้งยอดสินค้าต่อฝ่ายผลิต
- บอกว่าต้องการชนิดใดเพิ่ม
- รายงานกิจกรรมทางการตลาด
3.ระบบพิมพ์งาน
-
นำข้อมูลจากระบบการผลิตมาทำรายงาน
- นำข้อมูลจาก D1
มาทำรายงานส่งให้กลับฝ่ายการตลาดและการขาย
4.ฝ่ายคลังสินค้า
- ต้องการทราบจำนวนสินค้าที่ผลิต
- ระบบรายงานจำนวนสินค้าต่อฝ่ายคลังสินค้า
5.ฝ่ายบัญชี
- นำข้อมูลจาก D2 , D3 มาจัดการข้อมูล
6.ระบบจัดการข้อมูล
-
นำข้อมูลจากฝ่ายการตลาดและการขาย,ฝ่ายการผลิต,ฝ่ายคลังสินค้ามาเก็บไว้ใน D1 D2 และD3
DFD
LEVEL 1 Of
Process 1
อธิบาย DFD
LEVEL 1 Of Process 1
Process 1
ปรับปรุงแฟ้มข้อมูลหลักมีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 3
Process ดังนี้
1. Process 1.1 เลือกรายการและตรวจสอบรายการที่ต้องการปรับปรุง
เป็นขั้นตอนการเลือกรายการและตรวจสอบรายการ
- Process จะทำการดึงข้อมูลลูกค้าจากแฟ้มข้อมูลลูกค้าและดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาทำการประมวลผลเพื่อตรวจสอบรายการ
2. Process 1.2 แสดงข้อมูลเป็นขั้นตอนการแสดงข้อมูล
- Process จะทำการรับข้อมูลจาก Process
ที่ 1.1 มาทำการแสดงข้อมูล
3. Process 1.3
บันทึกข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วเป็นขั้นตอนที่ทำการบันทึกข้อมูลที่ผ่านการปรับปรุงเรียบร้อย
- Process จะทำการรับข้อมูลจาก Process
ที่ 1.2 นำมาประมวลผลจากนั้นจะทำการบันทึกข้อมูลไปยังแฟ้มข้อมูลสินค้า
แฟ้มข้อมูลลูกค้า และจะส่งข้อมูลที่ผ่านการปรับปรุงไปให้กับพนักงาน
DFD LEVEL 1 Of Process 2
อธิบาย DFD
LEVEL 1 Of Process 2
Process
2
สืบค้นข้อมูลมีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 2 Process ดังนี้
1.
Process 2.1
ตรวจสอบรายการสินค้าเป็นขั้นคอนการตรวจสอบรายการสินค้าที่ต้องการ
- Process จะทำการดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาทำการประมวลผลเพื่อตรวจสอบรายการสินค้า
2.
Process 2.2
แสดงรายละเอียดสินค้าเป็นขั้นตอนการแสดงผลการค้นหาข้อมูลสินค้า
- Process จะทำการรับข้อมูลจาก Process
ที่ 2.1 มาทำการประมวลผลเพื่อแสดงข้อมูลสินค้าหรือรายการที่ลูกค้าต้องการค้นหาให้กับลูกค้า
DFD LEVEL 1 Of Process 3
อธิบาย DFD
LEVEL 1 Of Process 3
Process 3
สั่งซื้อสินค้าเป็นขั้นตอนที่ลูกค้าทำการสั่งซื้อสินค้า
มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 5 ขั้นตอนหรือ 5 Process ดังนี้
1. Process 3.1 ตรวจสอบข้อมูล
เป็นขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ
-
Process จะทำการดึงข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า ข้อมูลการชำระเงิน
ข้อมูลการสั่งซื้อจากแฟ้มข้อมูลดังกล่าวมาทำการประมวลผลเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูล
2. Process 3.2
เลือกรายการสินค้าเป็นขั้นตอนการเลือกสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อ
-
Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.1
มาทำการประมวลผลเพื่อทำการเลือกรายการสินค้า
3. Process 3.3
แสดงรายละเอียดเป็นขั้นตอนที่ระบบจะทำการแสดงผลเพื่อแสดงรายละเอียด
-
Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.2
มาทำการประมวลผลเพื่อแสดงรายละเอียดไปให้กับลูกค้า
4. Process 3.4 ยืนยันการสั่งซื้อเป็นขั้นตอนการทำการยืนยันการสั่งซื้อของลุกค้า
-
Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.3
มาทำการประมวลผลเพื่อให้ลูกค้ายืนยันการสั่งซื้อ
5. Process 3.5
บันทึกเป็นขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูลการสั่งซื้อของลุกค้า
-
Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.4 มาทำการประมวลผลเพื่อบันทึกข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าไปจัดเก็บที่แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อและส่งใบสั่งซื้อให้กับลูกค้า
ฐานข้อมูลที่ใช้
ในระบบการผลิต
ตาราง Order
แสดงข้อมูลสินค้า
ตาราง User_1
แสดงข้อมูลผู้ใช้
ตาราง ใบออกสินค้า
แสดงข้อมูลสินค้าที่มีผู้สั่ง
ขั้นตอนที่ 5
การออกแบบ User Interface
หน้าต่าง Login เพื่อเข้าสู่ระบบการผลิต
เข้าสู่หลักหลักของระบบการผลิต
ขั้นตอนการออกใบสั่งสินค้า
ขั้นตอนที่
6
การพัฒนาและติดตั้งระบบ
ทีมงานได้จัดทำ
เอกสารคู่มือการใช้งานโปรแกรมของระบบการผลิต เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำ
งานของโปรแกรมมากยิ่งขึ้น โปรแกรมระบบการผลิตเป็นโปรแกรมที่ทำซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยทั้งหมด
3 ส่วนได้แก่
1. ข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาทำการประมวลผลเพื่อตรวจสอบรายการ
2. ประมวลผลเพื่อแสดงข้อมูลสินค้าหรือรายการที่ลูกค้าต้องการค้นหาให้กับลูกค้า
3. รายการสินค้าเป็นขั้นตอนการเลือกสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อ
ขั้นตอนที่ 7
ซ่อมบำรุง
การซ่อมบำรุงนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาระบบว่าระบบนั้นมีปัญหาอะไรบ้างจะอยู่ในความดูแลของผู้พัฒนาระบบมีการดูแลระบบอย่างต่อเนื่องเมื่อระบบมีปัญหาทางผู้พัฒนาระบบจะทำการซ่อมแซมระบบอย่างรวดเร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น