บริษัท สวีทตี้ จำกัด


บริษัท สวีทตี้ จำกัด

ที่มาของบริษัท
ก่อตั้งในปี พศ.2534 ภายใต้ชื่อ บริษัท ไทยแอ็ดว้านซ์ฟูด(1991)จำกัด เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าประเภท นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ และโยเกิร์ตพาสเจอร์ไรส์ ตรา สวีทตี้  ซึ่งบริษัทฯได้วิจัย พัฒนา และคัดสรรวัตถุดิบที่ดี เพื่อนำมาผลิตสินค้า ที่มี จุลินทรีย์แลคโทบาซิลลัสสายพันธ์ดี CASEI ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และรสชาติสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค โดยบริษัทมีระบบการจัดจำหน่ายผ่านโมเดิร์นเทรด และหนุ่ม-สาวสวีทตี้ทั่วประเทศ
1 กรกฎาคม 2550 บริษัท ไทยแอ็ดว้านซ์ฟูด(1991)จำกัด ได้ร่วมทุนกับ บริษัท คัมพินา ประเทศเนเธอแลนด์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สวีทตี้จำกัด จนถึงปัจจุบันทั้งนี้ บริษัทฯไม่เคยหยุดนิ่งที่จะพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพสินค้า และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยยังมุ่งเน้นความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นสำคัญ
นโยบายของบริษัท
เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนมที่เน้นการใช้จุลินทรีย์แล็คโทบาซิลลัสในกลุ่มโพรไบโอติคส์เป็นหลัก เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดี รวมทั้งมุ่งพัฒนาองค์กรและผลิตภัณฑ์ เพื่อนำ สวีทตี้ไปสู่ระดับสากล
ภารกิจ
-              ยึดมั่นในการผลิตสินค้า และคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภายใต้การควบคุมคุณภาพที่เข้มงวดทุกขั้นตอน
-              วางแผนการบริหารและกำหนดกลยุทธ์เพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำในฐานะผู้ผลิต และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ และโยเกิร์ตในประเทศไทย
-              ขยายธุรกิจสู่ประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียภายใต้ตราสินค้า สวีทตี้
การดำเนินงานของธุรกิจโดยรวม
-              รับสมัครสมาชิกเข้าร่วมทำธุรกิจ
-              รับสมัครผู้บริหารคลังสินค้า
-              รับสมัครพนักงานที่มีคุณภาพเข้ามาทำงานกับเรา
-              บริหารองค์กรด้วยธุรกิจเครือข่าย
-              บริการจำหน่ายนมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ และโยเกิร์ตพาสเจอร์ไรส์
-              ผลิตสินค้าให้ทันกับความต้องการของลูกค้า
แผนผังการจัดการองค์กร

รูปที่  1   แผนผังองค์กร

หน้าที่ ปัญหา และการแก้ปัญหาของแต่ละแผนก มีดังนี้

ฝ่ายงานบริหาร
แผนกบัญชี  มีหน้าที่ดังนี้
- ควบคุมดูแลงานด้านการบริหารงานบัญชีและการเงิน รายรับ-รายจ่ายของบริษัท
- ควบคุมยอดทางด้านงบการเงิน วิเคราะห์งบการเงินในแต่ละเดือน
- ควบคุมดูแลจัดทำงบลงทุน งบกำไรขาดทุน งบดุล และปิดงบการเงิน 
- เบิกจ่ายรายจ่ายที่จัดสรรแล้วให้แก่แผนกต่างๆ
- ควบคุมอนุมัติรายจ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้จัดสรรไว้
ปัญหาของแผนกบัญชีคือ
1. อาจเกิดข้อผิดพลาดในการคิดบัญชีรายรับ รายจ่ายได้
2. ข้อมูลอาจเกิดการผิดพลาดได้ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหายเพราะเอกสารมีจำนวนมากและไม่มีการจัดเก็บให้เป็นระเบียบ
3. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร  เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
4. รายงานทางการเงินที่ทำโดยมือจะทำให้เข้าใจได้ยาก เนื่องจากลายมือหรือรูปแบบของรายงานเพราะจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป
5. การจัดบัญชีรายรับ รายจ่าย ตัวเลขอาจจะตกหล่น ไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
แผนกบุคคล  มีหน้าที่ดังนี้
-การจัดสรรหา พนักงานเข้ามาทำงานให้เหมาะสมตามความต้องการขององค์หรือแต่ละแผนก และการทำสัญญาการจ้างทำงานโดยยึดหลักนโยบายของบริษัทและความพึงพอใจของพนักงาน
-การบริหารค่าแรง สวัสดิการ ประกันสังคม  ภาษี
-การจัดทำแผนการอบรมพัฒนา ทำสถิติ ความต้องการในการจัดอบรม การหาและกำหนดตัวของวิทยากรที่ให้ความรู้
-ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ในการปรับค่าจ้าง
-สรุปยอดการปฏิบัติงานของการบริหารงานบุคคลประจำปี
ปัญหาของแผนกบุคคลคือ
1. การจ่ายเงินเดือนพนักงานตกหล่น เพราะสวัสดิการแต่ละคนไม่เท่ากัน
2. ตรวจสอบวันลา หยุด ของพนักงานทำได้ยาก
3. ไม่ทราบเวลาเข้า ออกของพนักงานเพราะต้องเขียนอย่างเดียวง่ายต่อการปลอมแปลงลายเซ็นต์
ฝ่ายปฎิบัติการ
แผนกงานขาย/การตลาด   มีหน้าที่ดังนี้
- วิเคราะห์  วางแผน   กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พร้อมทั้งรายชื่อ ลูกค้าเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม และกำหนดเป้ายอดขาย ในแต่ละกลุ่มลูกค้า ที่มีความเป็นไปได้ ให้กับฝ่ายขายไปดำเนินการ
- วิเคราะห์ วางแผน จัดการ ให้มีการส่งเสริมการขาย ด้วยการวางแผน เข้าร่วม โครงการ กิจกรรม การประกวดผลงาน หรือผลิตภัณฑ์ ที่หน่วยงานหรือองค์กร ต่างๆจัดให้มีขึ้น ในแต่ละปี
- วิเคราะห์ วางแผน และดำเนินการสร้าง สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์  และ เผยแพร่ โฆษณา PR ไปยังสื่อต่างๆ
- วิเคราะห์ วางแผน กำหนดเป้าหมาย  และดำเนินการสร้าง ตัวแทนจำหน่ายและ ผู้สร้างระบบ(Implementor) ในแต่ละช่องทางจัดจำหน่าย สำหรับลูกค้า กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ได้ยอดขายตามที่กำหนด
ปัญหาของแผนกขายคือ
1. เอกสารมีจำนวนมาก  ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ  ซึ่งมีเอกสารดังนี้
                                1.1  เอกสารข้อมูลลูกค้า
                                1.2  เอกสารข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า
                                1.3  เอกสารเกี่ยวกับสินค้า
2. ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน  เนื่องจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อสินค้าหลายครั้ง  แต่พนักงานขายก็เก็บข้อมูลทุกครั้ง  ทำให้มีเอกสารซ้ำซ้อน
3. ข้อมูลมีความแตกต่าง  เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลงเช่น  เบอร์โทรศัพท์  ที่อยู่  เพราะลูกค้าอาจจะมีเบอร์โทรศัพท์หลายเบอร์และมีการย้ายสถานที่อยู่เรื่อย  ๆ
4. เป้าหมายของบริษัทไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
               
ฝ่ายธุรการ
แผนกประชาสัมพันธ์  มีหน้าที่ดังนี้
- ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในของบริษัท รับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าและพัฒนา และติดตามลูกค้าทางโทรศัพท์และทางจดหมายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบข่าวสารของบริษัทปัญหาของแผนกประชาสัมพันธ์คือ
1. การติดต่อสื่อสารขัดข้องเพราะลูกค้ามีจำนวนมากและบางครั้งลูกค้าได้มีการ เปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่แจ้งให้ทราบทำให้ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้
2. สื่อสารกับลูกค้าไม่เข้าใจ
แผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ มีหน้าที่
- ดูแลความเรียบร้อยและตรวจเช็คสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า รวมทั้งสั่งซื้อสินค้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้า
- สรรหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพตามความต้องการของฝ่ายต่างๆ ภายในบริษัท เพื่อมาใช้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
- Support หน่วยงานต่างๆ ให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้ โดยต้องทำการเปรียบเทียบราคาของวัตถุดิบจาก Supplier หลายๆ เจ้า
- เลือกซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพในราคาที่ต่ำ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
ปัญหาของแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
1.ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
2. ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
3. ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้ามากเกินไป เนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
4. การสต็อกสินค้าไม่เพียงพอ
5. จัดหาวัตถุดิบไม่ได้ตามความต้องการของฝ่ายต่างๆ
6.วัตถุดิบบางตัวมีราคาค่อนข้างสูงทำให้ไม่ต้องตามเป้าหมายที่วางไว้
ฝ่ายโรงงาน
แผนกผลิตสินค้า มีหน้าที่ดังนี้
                มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามนโยบายและหน้าที่ที่มอบหมาย สามารถทำงานกับเครื่องจักรได้เบื้องต้น พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้เบื้องต้น และต้องเข้าใจถึงกระบวนการการทำงานในแผนกนั้นๆ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเอง รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างกระบวนการผลิต
ปัญหาของแผนกผลิตสินค้า
1. มีของเสียในกระบวนการผลิตมาก
2. แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
3. มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
4. มีปริมาณของในกระบวนการผลิตสูงขึ้น
5. มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบ
แผนกควบคุมคุณภาพ มีหน้าที่ดังนี้
                รับผิดชอบในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและวัตถุดิบแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามมาตรฐานเรื่องคุณภาพที่บริษัทกำหนด โดยร่วมกำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้ากับผู้บังคับบัญชา และให้ความสำคัญกับ กระบวนการตรวจสอบสินค้าทุกระบวนการผลิต เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนถึงมือลูกค้า
ปัญหาของแผนกควบคุมคุณภาพ
1. สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
2. มีการตรวจสอบที่ผิดพลาด

ปัญหาระหว่างแผนกที่เกี่ยวข้องกัน
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกบุคคล 
- แผนกบัญชีไม่รู้ว่าค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้พนักงานในแต่แผนก เป็นจำนวนเงินเท่าไรเพราะแต่ละแผนกให้ค่าจ้างพนักงานไม่เหมือนกัน
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกงานขาย/การตลาด
-  แผนกบัญชีทำรายการขายสินค้าผิดเนื่องจากแผนกขาย/การตลาดสรุปยอดสินค้าผิด
 - แผนกบัญชีไม่สามารถสรุปยอดการขายได้เนื่องจากแผนกการขาย/การตลาดไม่สรุปยอดการขายส่งแผนกบัญชี
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกประชาสัมพันธ์
- แผนกบัญชีไม่สามารถจ่ายเงิน หากประชาสัมพันธ์ไม่แจ้งยอดของบประมาณในการ ประชาสัมพันธ์ให้แก่แผนกบัญชี
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
- แผนกบัญชีไม่สามารถจ่ายเงินให้แก่แผนกคลังสินค้าได้ หากแผนกคลังสินค้าไม่แจ้งของบประมาณในการจัดซื้อให้แก่แผนกบัญชี
ปัญหาระหว่างแผนกบุคคลกับแผนกบัญชี
- บุคคลได้รับเงินไม่ครบถ้วนหากแผนกบัญชีจ่ายเงินมาไม่ตรงกับจำนวนชั่วโมงการทำงาน
ปัญหาระหว่างแผนกบุคคลกับแผนกการขาย/การตลาด
- พนักงานไม่เพียงพอกับกับจำนวนสินค้าที่ต้องการเสนอขายแก่ลูกค้า
- พนักงานไม่มีทักษะในด้านการขาย/การตลาด
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกบุคคล
- พนักงานขายสินค้าไม่ตรงกับที่แผนกขายตั้งราคาไว้
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกประชาสัมพันธ์
-แผนกการขายอาจจะมียอดขายต่ำ หากไม่ได้รับประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมและทั่วถึง
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
- แผนกการขายจะไม่สามารถขายสินค้าได้ หากสินค้าในคลังหมดและไม่แจ้งให้แผนกการขายทราบ
- หากแผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า แผนกการขายก็จะไม่ทราบว่าจำนวนสินค้าว่าเพียงพอกับการขายหรือไม่
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกผลิตสินค้า
- แผนกการขายไม่มีสินค้าที่จะจำหน่ายเนื่องจากแผนกการผลิตผลิตสินค้าได้ล่าช้า
ปัญหาระหว่างแผนกการขาย/การตลาดกับแผนกควบคุมคุณภาพ
- สินค้าที่จะนำมาขายไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการขาย
ปัญหาระหว่างแผนกประชาสัมพันธ์กับแผนกบัญชี   
- แผนกประชาสัมพันธ์ไม่มีงบประมาณในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เนื่องจากแผนกบัญชีไม่จ่ายเงินงบประมาณ
ปัญหาระหว่างแผนกประชาสัมพันธ์กับแผนกการขาย/การตลาด
- แผนกประชาสัมพันธ์ไม่รู้ข้อมูลในการประชาสัมพันธ์เนื่องจากแผนกการขายไม่ส่งขอมูลในการประชาสัมพันธ์
ปัญหาระหว่างแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อกับแผนกบัญชี
- แผนกคลังสินค้ามีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการจัดซื้อเนื่องจากแผนกบัญชีไม่จ่ายเงิน
ปัญหาระหว่างแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อกับแผนกการขาย/การตลาด
- แผนกการขายไม่แจ้งยอดสินค้าให้หับแผนกคลังสินค้าทำให้แผนกคลังสินค้าไม่ทราบจำนวนสินค้า
ปัญหาระหว่างแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อกับแผนกผลิตสินค้า
- แผนกผลิตสินค้าผลิตสินค้าล่าช้าทำให้คลังสินค้ามีสินค้าไม่เพียงพอในการสต็อกสินค้า
ปัญหาระหว่างแผนกผลิตสินค้ากับแผนกการขาย/การตลาด
- แผนกการขายไม่แจ้งจำนวนสินค้าให้แก่แผนกผลิตทำให้แผนกผลิตไม่ทราบจำนวนของที่เหลืออยู่
ปัญหาระหว่างแผนกผลิตสินค้ากับแผนกคลังสินค้า/จัดซื้อ
- แผนกคลังสินค้าไม่แจ้งยอดสินค้าที่ต้องการ
- แผนกคลังสินค้าไม่จัดซื้อวัตถุดิบในการผลิตให้แก่แผนกผลิตสินค้า
ปัญหาระหว่างแผนกควบคุมคุณภาพกับแผนกการขาย/การตลาด
- แผนกการขายนำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาวางขาย

สรุปปัญหาทั้งหมดของบริษัท
1.ข้อมูลอาจเกิดข้อผิดพลาดในการคิดบัญชีรายรับ รายจ่ายได้
2.ข้อมูล อาจเกิดการผิดพลาดได้ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหายเพราะเอกสารมี จำนวนมากและไม่มีการจัดเก็บให้เป็นระเบียบเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้ม เอกสาร  เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3.รายงานทางการเงินที่ทำโดยมือจะทำให้เข้าใจได้ยาก เนื่องจากลายมือหรือรูปแบบของรายงานเพราะจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป
4.การจัดบัญชีรายรับ รายจ่าย ตัวเลขอาจจะตกหล่น ไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
5.การจ่ายเงินเดือนพนักงานตกหล่น เพราะสวัสดิการแต่ละคนไม่เท่ากัน
6.ตรวจสอบวันลา หยุด ของพนักงานทำได้ยาก
7.ไม่ทราบเวลาเข้า ออกของพนักงานเพราะต้องเขียนอย่างเดียวง่ายต่อการปลอมแปลงลายเซ็นต์
8.เอกสารมีจำนวนมาก ทำให้การจัดเก็บไม่เป็น
9.ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน เนื่องจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อสินค้าหลายครั้ง แต่พนักงานขายก็เก็บข้อมูลทุกครั้ง ทำให้มีเอกสารซ้ำซ้อน
10.ข้อมูลมีความแตกต่าง เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลงเช่น เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ เพราะลูกค้าอาจจะมีเบอร์โทรศัพท์หลายเบอร์และมีการย้ายสถานที่อยู่เรื่อย ๆ
11.เป้าหมายของบริษัทไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
12.การ ติดต่อสื่อสารขัดข้องเพราะลูกค้ามีจำนวนมากและบางครั้งลูกค้าได้มีการ เปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่แจ้งให้ทราบทำให้ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้
13.สื่อสารกับลูกค้าไม่เข้าใจ
14.ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
15.ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
16.ข้อมูล สินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้า มากเกินเนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
17.การสต็อกสินค้าไม่เพียงพอ
18.จัดหาวัตถุดิบไม่ได้ตามความต้องการของฝ่ายต่างๆ
19.วัตถุดิบบางตัวมีราคาค่อนข้างสูงทำให้ไม่ต้องตามเป้าหมายที่วางไว้
20.มีของเสียในกระบวนการผลิตมาก
21.แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
22.มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
23.มีปริมาณของในกระบวนการผลิตสูงขึ้น
24.มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบ
25.สินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้
26.มีการตรวจสอบที่ผิดพลาด

ปัญหาและความเกี่ยวข้องกับระบบงาน


ระบบงานที่ต้องการพัฒนา
1. ระบบงานขาย/การตลาด

2. ระบบงานบัญชี

3. ระบบคลังสินค้า /จัดซื้อ
การประเมินความต้องการของบริษัท  
ตารางแสดงรายการ การทำงาน (Functions) หรือกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดขององค์กร


แสดงการจำแนกกิจกรรม(Activites)  ของหน้าที่ของการทำงาน (Functions) ในบริษัท

รูปที่  2  แสดงการจำแนกกิจกรรม(Activites)  ของหน้าที่ของการทำงาน (Functions) ในบริษัท

แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Function-to-Data Entities)
ตารางที่  1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
เกณฑ์ในการตัดสินใจ
1. เพิ่มจำนวนลูกค้า
2. สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
3. เพิ่มภาพลักษณ์ให้กับบริษัท
4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5. เพิ่มผลกำไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น